sponsor

sponsor

Slider

รูปภาพธีมโดย kelvinjay. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

สกู๊ปพิเศษ

ข่าวทั่วไป

อุบัติเหตุ/อาชญกรรม

ประชาสัมพันธ์

ถนน..พัฒนาการ

ข่าวกีฬา

ข่าวหางาน

» » » นับถอยหลัง 5 ปี อีอีซี Eastern Economic Corridor (EEC) และสิ่งที่จะเปลี่ยนไปในชลบุรี


 โครงการพัฒนาเศรษฐกิจระเบียงภาคตะวันออก หรือ EEC กำลังเป็นอีกหนึ่งแม่เหล็กสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนครั้งใหญ่ของประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่จะนำชาติไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยนับเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ไม่ได้ปรากฏมาเป็นเวลานานแล้วในประเทศไทยในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา นับจากการพัฒนาโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ประเทศไทย “เราขาดเรื่องนี้ไปพอสมควร ผลที่ตามมาคือประเทศอื่นๆ ที่เขาพัฒนาไประดับนี้แล้ว เขาก้าวไปเร็วมาก ดังนั้น เราคาดหวังให้โครงการนี้เป็นสปริงบอร์ดการลงทุนครั้งใหญ่ของประเทศไทย” ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าว

ในส่วนการเลือกสามจังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา เป็นศูนย์กลางการพัฒนาโครงการอีอีซี รมว.อุตสาหรรมเอ่ยว่า ล้วนมาจากการมองเห็นศักยภาพของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ด้านทำเลยุทธศาสตร์ เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งยังมีโครงข่ายการคมนาคม ที่พร้อมและสามารถพัฒนาให้เป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมโยงทั้งในประเทศและระดับภูมิภาคได้
เพื่อผลักดันให้อีอีซีสามารถเป็น “สปริงบอร์ด” ให้ประเทศไทยได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลได้มียุทธศาสตร์ส่งเสริมผ่านโครงการใหญ่ถึง 15 โครงการสำคัญ ใน 4  กลุ่มใหญ่ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย การท่องเที่ยว เมืองใหม่และชุมชน ซึ่งจะมีการลงทุนมูลค่าถึง 1.5 ล้านล้านบาท 

โดยโครงการหลักที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ จ.ชลบุรีนอกจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 10 ซุปเปอร์คลัสเตอร์แล้ว การเป็นเมืองที่อยู่ตรงกลางระหว่าง 3 จังหวัด ทำให้ชลบุรีได้รับอานิสงห์การพัฒนาโครงการคมนาคมพื้นฐานอย่างเช่น การพัฒนาอู่ตะเภา เป็นสนามบินแห่งที่ 3 ของประเทศไทยเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในระดับ “ภูมิภาค” ไปด้วย 

ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ที่จะวิ่งเชื่อมต่อเส้นทางระหว่าง 3 สนามบิน ได้แก่ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ด้วยการเดินทางในระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง


นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกเพื่อรองรับอุตสากรรมเป้าหมาย โดยจะขยายท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังในระยะที่ 3 ซึ่งจะเชื่อมต่อระบบโลจิสติส์โดยรถไฟเป็นหลัก ส่วนการพัฒนาท่าเรือสัตหีบจะเป็นอีกจุดเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว

การจัดตั้ง อีอีซีดี (EECd) จะเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิตอลเทคโนโลยี ที่ดำเนินการภายใต้กระทรวงดิจิตอล ในพื้นที่ของ CAT Telecom ซึ่งตั้งอยู่ที่ศรีราชา 
รวมถึงการวางผังเมือง ขยายชุมชน ระบบสาธารณูปโภค ยกระดับการศึกษาเพื่อผลิตแรงงานทักษะเทคโนยีชั้นสูงตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมในยุค 4.0 ระยะยาว

นับจากนี้อีก 5 ปี “อีอีซี” จะเป็นโอกาสสำคัญในการพลิกโฉมใหม่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ ให้กับชลบุรี

«
Next
บทความใหม่กว่า
»
Previous
บทความที่เก่ากว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

Leave a Reply