ที่ห้องประชุมยูงเงิน ชั้น 5 อาคารอเนกประสงค์เทศบาลเมืองบ้านสวน เสียงขับร้องเพลงไทยเดิมของ อ.ประดิษฐ์ อินทนิล อายุ 67 ปี (หัวหน้าวง) ข้าราชการบำนาญ อดีต อ.จารย์ สาธิตพิบูลย์บำเพ็ญ ม.บูรพา ชลบุรี ที่ร่วมซ้อมกับวงดนตรีไทยชมรมรักษ์ดนตรีไทยเทศบาลบ้านสวนชลบุรี ที่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการบำนาญที่มีทั้ง อาจารย์ ครู ทหาร หมอ พยาบาล และแม่บ้านที่มีอายุตั้งแต่ 60-80ปีขึ้นไปหลังเกษียณอายุราชการแล้วได้รวมกันขับร้องเล่นดนตรีไทยเป้นการรวมตัวกันจัดทำกิจกรรมเพื่อให้อารมณ์ จิตใจ เบิกบาน พักสมอง ความจำ ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ มีประโยชน์ต่อร่างกายของผู้สูงอายุ รวมทั้งร่วมกันอนุรักษ์ดนตรีของชาติไทยไว้
โดยรองสาสตราจารย์ไพพรรณ อินทนิล อายุ 66 ปี ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม ม.บูรพา ผู้ควบคุมวงกล่าวว่าดีใจที่ได้รวมกลุ่มเพื่อนที่รักษ์ดนตรีไทยรวมทั้งมีจิตใจเป็นจิตอาสานำเสียงเพลงพร้อมดนตรีไทยไปขับกล่อมให้กับผู้ที่ชื่นชอบหลงไหลดนตรีไทยได้ฟัง โดยก่อนหน้านี้ได้รวมตัวกันซ้อมดนตรีไทยที่บ้านทั้งวงมีจำนวน 25 คนหมุนเวียนกันมาซ้อม จนได้รับความอนุเคราะห์จากนายจักรวาล ตั้งประกอบ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบ้านสวนให้ใช้ห้องประชุมยูงเงินชั้น 5 ของเทศบาลเป็นห้องซ้อมดนตรีไทยในทุกวันพฤหัสบดีตั้งแต่เวลา 09.00 -16.00 น.ซึ่งผู้ที่มาซ้อมดนตรีส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 60-80 ปีขึ้นไปและน้อยสุด 50 ปี
อ.ประดิษฐ์ อินทนิล อายุ 67 ปี ข้าราชการบำนาญ อดีต อ.จารย์ สาธิตพิบูลย์บำเพ็ญ ม.บูรพา ชลบุรี (หัวหน้าวง) กล่าวว่าสำหรับเพลงที่ใช้เล่นในวงอนุรักษ์เพลงไทยเดิมโบราณ อาทิเช่น โหมโรง เขา ตับ เกล็ด รวมทั้งเพลงทับแม่งู ตับแม่ศรีทรงเครื่อง(ตับนก) นกขมิ้น เป็นต้นซึ่งนับว่าเป็นเพลงเก่าแก่คู่ดนตรีไทยมาช้านาน หลังจากได้ฝึกซ้อมกันมานานจนได้รับการเชิญไปเล่นตามงานมงคล เช่นงานแต่งงาน วันเกิด ทำบุญบ้าน รวมทั้งงานศพ รู้สึกภาคภูมิใจมากที่ยังมีผู้ที่ชื่นชอบหลงไหลในเสียงดนตรีและการขับร้องเพลงไทยเดิม ที่เป็นมรดกของคนไทย โดย วงดนตรีไทยชมรมรักษ์ดนตรีไทยเทศบาลบ้านสวนชลบุรีนี้ เป็นวงจิตอาสาที่ต้องการอนุรักษ์มรดก วัฒนธรรม เผยแพร่ เป็นมรดกของประเทศไทยให้รุ่นลูกหลานได้สืบสานและสืบทอดกันต่อไปโดยไม่มีการคิดราคาค่าจ้างแต่อย่างใด
สำหรับอ.ประดิษฐ์ อินทนิล อายุ 67 ปี ข้าราชการบำนาญ อดีต อ.จารย์ สาธิตพิบูลย์บำเพ็ญ ม.บูรพา ชลบุรี (หัวหน้าวง) เป็นผู้ริเริ่มและจัดประกวดดนตรีไทยภาคตะวันออกครั้งที่ 1-31และเป็นหัวหน้าคณะเผยแพร่ดรตรีไทยนาฎศิลป์ไทยให้สถานทูตไทยหลายประเทศติดต่อกันมาแล้วถึง 20 ครั้งด้วยกัน
เสียงสัมภาษณ์ รองสาสตราจารย์ไพพรรณ อินทนิล ผู้ควบคุมวง
ไม่มีความคิดเห็น: