sponsor

sponsor

Slider

รูปภาพธีมโดย kelvinjay. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

สกู๊ปพิเศษ

ข่าวทั่วไป

อุบัติเหตุ/อาชญกรรม

ประชาสัมพันธ์

ถนน..พัฒนาการ

ข่าวกีฬา

ข่าวหางาน



ทุเรียน
ทุเรียน ชื่อสามัญ Durian (มาจากคำว่า duri ในภาษามาเลย์ซึ่งแปลว่า หนาม”)
ทุเรียน ชื่อวิทยาศาสตร์ Durio zibethinus L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Durio acuminatissimus Merr., Durio stercoraceus Noronha) จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่อยู่วงศ์ฝ้าย ในสกุลทุเรียน (แต่นักอนุกรมวิธานบางท่านจัดให้ทุเรียนอยู่ในวงศ์ทุเรียน) ทุเรียนจัดว่าเป็นราชาผลไม้ไทย โดยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน โดยลักษณะของผลทุเรียนจะมีขนาดใหญ่ ผลรีถึงกลม และมีเปลือก( สีเขียวถึงสีน้ำตาล) ที่ปกคลุมไปด้วยหนามแข็ง ผลทุเรียนอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางของผลยาวถึง 15 ซม. น้ำหนักโดยทั่วไปประมาณ 1-3 กิโลกรัม และมีเนื้อที่นำมารับประทานเป็นสีเหลืองซีดจนถึงสีแดง ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์
ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด แต่มีเพียง 9 ชนิดเท่านั้นที่สามารถรับประทานได้ ได้แก่  Durio zibethinus, Durio dulcis, Durio grandiflorus, Durio graveolens, Durio kutejensis, Durio lowianus, Durio macrantha, Durio oxleyanus และ Durio testudinarum แต่มีเพียงสายพันธุ์ Durio zibethinus ชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และชนิดนี้ก็แบ่งแยกย่อยไปอีกมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมและปลูกกันมากก็คือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และพันธุ์ก้านยาว เป็นต้น
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่กลิ่นเฉพาะตัว โดยเนื้อในจะเหมือนคัสตาร์ด มีรสชาติคล้ายอัลมอนด์ สำหรับบางคนนั้นบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม แต่ในขณะที่บางคนกลับมองว่ามันมีกลิ่นเหม็นรุนแรงจนถึงขั้นสะอิดสะเอียนเลยทีเดียว (ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขาห้ามนำทุเรียนเข้าไปในโรงแรมและการขนส่งสาธารณะ) ทุเรียนนั้นเราสามารถรับประทานได้ทั้งสุกและห่ามแล้วแต่คนชอบ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ทำอาหารได้อย่างหลากหลาย แม้แต่เมล็ดก็รับประทานได้แต่ต้องทำให้สุกก่อน
สรรพคุณของทุเรียน
1.              ช่วยทำให้ฝีแห้ง (เนื้อทุเรียน)
2.              สรรพคุณทุเรียนช่วยแก้โรคผิวหนัง (เนื้อทุเรียน)
3.              สารสกัดจากใบและรากทุเรียนใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ ด้วยการใช้น้ำจากใบวางบนศีรษะของผู้ป่วยจะช่วยลดไข้ได้ (ราก, ใบ)
4.              ทุเรียนมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องร่วง (ราก)
5.              สรรพคุณของทุเรียนช่วยขับพยาธิ (ใบ, เนื้อทุเรียน)
6.              ทุเรียนมีสรรพคุณทางยาช่วยแก้ดีซ่าน (ใบ)
7.              ช่วยทำให้หนองแห้ง (ใบ)
8.              ช่วยแก้ตานซาง (เปลือก)
9.              ช่วยรักษาโรคคางทูม (เปลือก)
10.       ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (เปลือก)
11.       ช่วยแก้ฝี (เปลือก)
12.       ช่วยรักษาแผลพุพอง (เปลือก)
13.       ใช้สมานแผล (เปลือก)

เปลือกทุเรียนใช้ไล่ยุงและแมลง (เปลือก)

 

ประโยชน์ของทุเรียน

1.              ทุเรียนพันธุ์หมอนทองสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ แต่ว่าต้องรับประทานแค่ 1 พูต่อวัน (นพ.กฤษดา ศิรามพุช)
2.              เนื่องจากทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง) การบริโภคทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
3.              แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
4.              เส้นใยของทุเรียนมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น
5.              ประโยชน์ทุเรียน ผลสามารถนำมาแปรรูปหรือทำเป็นขนมหวานได้หลายชนิด เช่น ลูกกวาดโบราณ, ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมปังสอดไส้, ไอศกรีม, มิลก์เชก, เค้ก, คาปูชิโน, ข้าวเหนียวทุเรียน, เต็มโพยะก์, ทุเรียนดอง, ทุเรียนแช่อิ่ม, ทุเรียนกวน, ทุเรียนกรอบ, แยมทุเรียน ฯลฯ
6.              ทุเรียน ประโยชน์ของเมล็ดทุเรียนสามารถรับประทานได้ โดยนำมาทำให้สุกด้วยวิธีการคั่ว การทอดในน้ำมันมะพร้าว หรือการนึ่ง โดยเนื้อในจะมีลักษณะคล้ายกับเผือกหรือมันเทศแต่เหนียวกว่า
7.              ใบอ่อนหรือหน่อของทุเรียนสามารถนำมาใช้ทำอาหารบางอย่างคล้ายกับผักใบเขียวได้เช่นกัน
8.              เปลือกทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการรมควันปลา
9.              ประโยชน์ของทุเรียน เปลือกสามารถนำมาผลิตทำเป็นกระดาษได้ ซึ่งจะมีเส้นใยเหนียวนุ่มและเหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา
10.       ในประเทศอินโดนีเซียมีการนำดอกทุเรียนมารับประทาน
11.       สำหรับความเชื่อในบ้านเรานั้น การปลูกต้นทุเรียนไว้ในบริเวณบ้าน (ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) เชื่อว่าผู้อยู่อาศัยจะเป็นผู้มีความรู้ แก่วิชาการเรียน หรือเป็นผู้รู้มาก เพราะคำว่าทุเรียนมีเสียงพ้องกับเกี่ยวกับการเรียนนั่นเอง
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อทุเรียนต่อ 100 กรัม
  • พลังงาน 174 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม
  • เส้นใย 3.8 กรัม
  • ไขมัน 5.33 กรัม
  • โปรตีน 1.47 กรัม
  • วิตามินเอ 44 หน่วยสากล
  • วิตามินบี 1 0.374 มิลลิกรัม 33%
  • วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม 17%
  • วิตามินบี 3 1.74 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี 5 0.23 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 6 0.316 มิลลิกรัม 24%
  • วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม 9%
  • วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม 24%
  • ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุแมงกานีส 0.325 มิลลิกรัม 15%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม 9%
  • ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.28 มิลลิกรัม 3%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
โทษของทุเรียน : เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงและยังอุดมไปด้วยไปด้วยไขมันและกำมะถัน ผลไม้ชนิดนี้จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะหากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว ทำให้เกิดร้อนในอีกด้วย และสำหรับบุคคลทั่วไปควรจะบริโภคแต่น้อย และยังมีความเชื่อโบราณที่ห้ามให้หญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีดันโลหิตสูงรับประทานทุเรียน และไม่ควรรับประทานทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟ เพราะเป็นของร้อนทั้งคู่ เดี๋ยวจะหลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มีได้ !
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)







«
Next
บทความใหม่กว่า
»
Previous
บทความที่เก่ากว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

Leave a Reply