sponsor

sponsor

Slider

รูปภาพธีมโดย kelvinjay. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

สกู๊ปพิเศษ

ข่าวทั่วไป

อุบัติเหตุ/อาชญกรรม

ประชาสัมพันธ์

ถนน..พัฒนาการ

ข่าวกีฬา

ข่าวหางาน

» » » คุณรู้จัก เกาะสีชีง ดีแค่ไหน ลองคลิ๊กดูน่ะคับ แล้วคุณจะรู้จักเกาะสีชัง มากยิ่งขึ้น



อำเภอเกาะสีชัง
อำเภอเกาะสีชัง ตั้งอยู่ในอ่าวไทย นอกชายฝั่งอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นอำเภอที่เล็กที่สุดในประเทศไทย แต่เดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรปราการ และกระทรวงมหาดไทยย้ายไปสังกัดจังหวัดชลบุรีในปี พ.ศ. 2486

ประวัติ

เกาะสีชังเป็นเกาะขนาดเล็กที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เกาะหนึ่งของประเทศไทยเนื่องจากเคยเป็นสถานที่เสด็จประพาสและเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินของกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ประสูติพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ) และสร้างพระจุฑาธุชราชฐาน ณ เกาะแห่งนี้อีกด้วย ซึ่งทำให้เกาะสีชังเป็นเพียงเกาะเดียวในประเทศไทยที่มีพระราชวังหรือเขตพระราชฐานตั้งอยู่

ที่มาของชื่อ

เรื่องราวที่เกี่ยวกับชื่อของเกาะสีชังนั้น เป็นภาษาที่ถือเอาความหมายได้ยากยิ่ง แม้แต่ปราชญ์ทางภาษาก็เพียงแต่ตั้งข้อสันนิษฐานถึงความหมายและที่มาของคำว่า "สีชัง" ไว้ดังนี้
·         สีชัง เป็นภาษาของชนชาติหนึ่งที่เป็นชนเผ่าของเขมร เรียกว่า สำแล โดยอาศัยหลักชาติพันธุ์วิทยาเป็นข้อสันนิษฐานเท่านั้น และไม่ทราบความหมายที่แท้จริง
·         สีชัง มาจากภาษาจีน คือ ซีซัน ซึ่งหมายถึง สี่คนทำไร่ โดยมีเรื่องราวเล่าว่ามีพ่อค้าเรือสำเภาจีน 4 นาย ล่องเรือค้าขายมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในธุรกิจการค้ามาตั้งรกราก และหันมาประกอบอาชีพทำไร่อยู่บนเกาะ ซึ่งต่อมาคำว่า "ซีซัน" จึงแผลงมาเป็น "สีชัง"
·         สีชัง มาจากคำว่า "สีห์ชงฆ์" ซึ่งหมายถึง แข้งสิงห์ เพราะเกาะนี้มีรูปร่างคล้ายแข้งสิงห์
·         สีชัง มีตำนานเชื่อว่า ฤๅษีองค์หนึ่งเกิดเบื่อหน่ายโลกีย์วิสัย มาพำนักบำเพ็ญพรตจนมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือชาวบ้าน ต่อมาจึงเรียกเกาะนี้ว่า "เกาะฤษีชัง"
ประวัติเกาะสีชัง นาม "สีชัง" หน้าที่ ๑ อันนาม"สีชัง" นี้ จะมีมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัด เท่าที่พบหลักฐานจากหนังสือ กำสรวลศรีปราชญ์ ซึ่งแต่งไว้เมื่อราวปี พุทธศักราช ๒๒๓๕ เรียกเกาะสีชังว่า สระชัง ดังในโคลงบทที่ ๗๘ได้พรรณนาถึง เกาะสีชังไว้ดังนี้
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4d/Cquote1.svg/20px-Cquote1.svg.png
มุ่งเห็นละล่ายน้ำ ตาตก แม่ฮา เกาะสระชงงชลธี โอบอ้อม มลกกเห็นไผ่รยงรก เกาะไผ่ พู้นแม่ ขยวสระดื้อล้ำย้อม ยอดคราม
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/1a/Cquote2.svg/20px-Cquote2.svg.png
จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่านาม สระชังคงจะเรียกขานกันมาก่อนปีพุทธศักราช ๒๒๓๕ เข้าใจว่า ต่อมาการออกเสียง สระชังอาจเพี้ยนไปเป็น สีชังซึ่งเป็นเสียงสั้น และง่ายกว่า เช่นเดียวกับคำอื่นๆ อีกหลายคำ เช่น บางปลากง ออกเสียงเป็น บางปะกง บางเชือกหนัง ออกเสียงเป็น บางฉนัง วัดเสาประโคน ออกเสียงเป็น วัดเสาวคนธ์ ทัพพระยา ออกเสียงเป็น พัทยา เป็นต้น ได้มีการสันนิษฐานกันเป็นหลายนัยเกี่ยวกับชื่อ สีชัง บ้างก็ว่า คำว่า สีชัง เพี้ยนมาจาก สีห์ชังฆ์ ซึ่งแปลว่า แข้งสิงห์ บ้างก็ว่า สี กับ ชัง เป็นชื่อบุคคลผู้มาตั้งรกรากทำมาหากินอยู่บนเกาะนี้เป็นคู่แรก อย่างไรก็ตาม คำว่า สระชัง น่าจะมีความไพเราะและมีความหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพราะว่า สระชัง หมายถึง การชะล้างเอาความเกลียดชังออกไป ( มิได้หมายถึงสระน้ำแห่งความชิงชัง ) เช่นเดียวกับคำว่า สระบาป ซึ่งเป็นชื่อเทือกเขาในจังหวัดจันทบุรี สระบาป หมายถึง การชะล้างเอาบาปทิ้งไป ( มิได้หมายถึงห้วงน้ำแห่งบาป)
อนึ่ง คำว่า สระชัง อาจเพี้ยนมาจากคำว่า สทึง หรือ จทึง ที่แปลว่า แม่น้ำ หรือ ห้วงน้ำ ในภาษาเขมร คำอื่นๆ ในภาษาไทยที่เพี้ยนมาเช่นเดียวกัน เช่น สทิงพระ สทิงหม้อ คลองพระสทึง ฉะเชิงเทรา เป็นต้น คำว่า ฉะเชิงเทราเพี้ยนมาจาก สทึงเทรา ที่แปลว่า แม่น้ำลึก หรือห้วงน้ำลึก โดยนัยดังกล่าวข้างต้น คำว่า สระชัง ก็น่าจะเพี้ยนมาจาก สทึง กลายมาเป็น สเชิง สชัง สรชังจนเป็น สระชัง ในที่สุดก็อาจเป็นได้ ในสมัยโบราณ เมื่อการ เดินทางค้าขายกับต่างประเทศยังใช้การคมนาคมขนส่งทางน้ำเป็นสำคัญ ไทยเราได้มีการ ค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ในบรรดาสินค้าที่นำไปขายมีเครื่องสังคโลกรวมอยู่ ู่ด้วย ในสมัยนั้นเรือสินค้าของไทยเป็นจำนวนมากได้อับปางในบริเวณอ่าวไทยด้านตะวันออก บริเวณเกาะสีชัง พัทยา และสัตหีบ ในขณะที่เรือสินค้าเดินทางออกมาจากปากอ่าวเข้าสู่ ทะเลใหญ่ ไม่มีสิ่งใดเป็นที่หมายแห่งสายตา จะมีก็แต่เกาะสีชังเท่านั้นเมื่อชาวเรือแล่นเรือ มาถึงบริเวณนี้และมองเห็นเกาะสีชัง จึงเรียกบริเวณนี้ว่า สระชัง ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เป็น ห้วงน้ำอันกว้างใหญ่ คำว่า สระชัง ได้กลายมาเป็น สีชัง ในปัจจุบัน 

ภูมิศาสตร์

สภาพที่ตั้งและภูมิประเทศ
เกาะสีชังอยู่ที่พิกัดเส้นรุ้ง 13 องศา ถึง 12 องศาเหนือและระหว่างเส้นแวง 10 องศา 48 ลิปดา ถึง 100 องศา 51 ลิปดา ตั้งอยู่ตะวันออกบริเวณก้นอ่าวไทยตรงกันข้ามกับอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ห่างจากจังหวัดชลบุรี ประมาณ 35 กม.อยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 117 กม. และห่างจากศรีราชาประมาณ 12 กม. รวมเนื้อที่ประมาณ 7.9 ตารางกิโลเมตร ประชาชนอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง เกาะสีชังมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกลางทะเลประกอบด้วย 9 เกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา โขดหิน ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่ราบทำการเพาะปลูกได้ประมาณ 500ไร่ ไม่มีแม่น้ำลำธารแลหนองบึง บริเวณจุดสูงสุดคือบริเวณยอดเขาซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสีชังมีความสูงประมาณ 192 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ความสูง
·         ความสูงระหว่าง 0 - 50 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีประมาณร้อยละ 67
·         ความสูงระหว่าง 50 - 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีประมาณร้อยละ 26
·         ความสูงระหว่าง 100 - 150 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีประมาณร้อยละ 6
·         ความสูงตั้งแต่ 150 เมตรขึ้นไป จากระดับน้ำทะเล มีประมาณร้อยละ 1
ความลาดชัน
·         ต่ำกว่า 10% ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 30
·         10 - 20 %ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 26
·         เกิน 20 % ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 44
จากความที่มีลักษณะพื้นที่ลาดชันเกินร้อยละ 20 ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 44 จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนพื้นที่ที่มีความลาดชันต่ำกว่าร้อยละ 10 จะเป็นบริเวณชุมชนในปัจจุบันซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรมาก
ลักษณะภูมิอากาศ
โดยทั่วไปของเกาะสีชังเป็นแบบพื้นที่ทะเลในเขตร้อนอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุมที่พัดปกคลุมอุณหภูมิตลอดทั้งปีมีค่า 28.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 31.3 องศาเกาะสีชังประกอบด้วย 3 ฤดู คือ
·         ฤดูร้อน - เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
·         ฤดูฝน - เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
·         ฤดูหนาว - เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ข้อมูลทางสถิติกรมอุตุนิยมวิทยา (สถานีอุตุนิยมวิทยาเกาะสีชัง) เนื่องจากเกาะสีชังได้รับอิทธิพลลมหนาวจากทิศเหนือที่พัดผ่านประเทศจีนจะพัดเข้าสู่ด้านหน้าเกาะสีชังตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ต่อจากนั้นจะมีลมมรสุมพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นสู่ตะวันออกเฉียงเหลือตั้งแต่มีนาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปีจากการศึกษาในช่วง 10 ปี (2539-2549) ปริมาณน้ำฝนของเกาะสีชังมีค่าเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 1,148.8 มิลลิเมตร เดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกมากที่สุดวัดได้ 137 มิลลิเมตร และประมาณน้ำฝนน้อยที่สุดในเดือนมกราคมคือ 6 มิลลิเมตร เฉลี่ยวันที่ฝนตกบนเกาะสีชังประมาณปีละ 101 วัน
เกาะสีชังมีเกาะบริวารรวม 8 เกาะ
·         เกาะขามใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
·         เกาะขามน้อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
·         เกาะปรง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
·         เกาะร้านดอกไม้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
·         เกาะสัมปันยื้อ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสีชัง
·         เกาะยายท้าว ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง
·         เกาะค้างคาว ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง
·         เกาะท้ายตาหมื่น ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง
อาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ-จดทะเลเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศใต้-จดทะเลเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ทิศตะวันออก-จดทะเลเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ทิศตะวันตก-จดทะเลเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเกาะสีชังมี 1 ตำบล 7 หมู่บ้าน คือ
1.
ตำบลท่าเทววงษ์
(Tha Thewawong)
7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

อำเภอเกาะสีชังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง คือ
·         เทศบาลตำบลเกาะสีชัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเทววงษ์ทั้งตำบล แยกเป็นเขตเทศบาลจำนวน 7 ชุมชน

ประชากร

ข้อมูลด้านสังคม ประชากรและครัวเรือน เกาะสีชัง มีจำนวนครัวเรือน 1,633 ครัวเรือน เกาะสีชังมีประชากร 5,400 คน แยกเป็นชาย 2,787 คน หญิง 2,613 คน นอกจากนี้เกาะสีชังยังมีประชากรแฝงอีกประมาณ 3,000 คนเศษ ซึ่งได้แก่ กลุ่มคนรับจ้างที่มากับเรือขนส่งสินค้า กลุ่มคนที่มาทำงานโดยไปกลับทุกวัน ข้าราชการของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น ภาษา ประชาชรบนเกาะส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ของเกาะสีชังนับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 95 % และศาสนาอื่น ๆ ประมาณ 5 %
การศึกษา เกาะสีชังจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในระดับก่อนประถมศึกษาจัดให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจัดให้บริการเฉพาะภาครัฐเท่านั้น

สถานที่สำคัญ

หน่วยงานราชการ
1.   ที่ทำการปกครองอำเภอเกาะสีชัง
2.   ฝ่ายทะเบียนและบัตรเกาะสีชัง
3.   สำนักงานสัสดีเกาะสีชัง
4.   โรงพยาบาลเกาะสีชัง
5.   เทศบาลเกาะสีชัง
6.   สำนักงานสาธารณสุขเกาะสีชัง
7.   สถานีตำรวจภูธรเกาะสีชัง
8.   สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาะสีชัง
9.   สำนักงานศุลกากรเกาะสีชัง
10.  สำนักงานที่ดินเกาะสีชัง
11.  สำนักงานสรรพากรเกาะสีชัง
12.  สำนักงานพัฒนาชุมชนเกาะสีชัง
13.  สถานีอุตุนิยมวิทยาเกาะสีชัง
14.  งานตำรวจน้ำเกาะสีชัง
15.  ด่านที่ทอดเรือภายนอกสีชัง
16.  สำนักงานท้องถิ่นเกาะสีชัง
17.  สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำและศูนย์ฝึกนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18.  โรงเรียนเกาะสีชัง
19.  โรงเรียนจุฑาทิศเทววงษ์เกาะสีชัง
20.  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเกาะสีชัง
หน่วยงานเอกชน
1.   สำนักงานพัฒนาชุมชนเกาะสีชัง
2.   ที่ทำการปกครองอำเภอ (กลุ่มงานชีววิถีโครงการเรียนรู้ชีววิถีเกาะสีชัง)

ประเพณีและวัฒนธรรม

·         สักการะเจ้าพ่อเขาใหญ่
สถานที่:ศาลเจ้าเขาใหญ่ เริ่มตั้งแต่วันตรุษจีน ปี 2551 เริ่มวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ประมาณ 45 วัน
·         ประเพณีวันสงกรานต์ (รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ)
สถานที่:วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร หมู่ 6 วันที่ 17 เมษายน เวลาประมาณ 14.00 น.เริ่มขบวนแห่
·         ประเพณีสงกรานต์วันไหลในวันสงกรานต์ (เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากเกาะสีชังไปเกาะขามใหญ่)
สถานที่: บ้านเกาะขามใหญ่ หมู่ 7 วันที่ 18 เมษายน (เช้า) ของทุกปี
·         ประเพณีสงกรานต์ วันกองข้าว
สถานที่: พระจุฑาธุชราชฐาน หมู่ 3 วันที่ 19 เมษายน (บ่าย) ของทุกปี
·         งานวันรำลึก 100 ปี สีชัง
สถานที่: พระจุฑาธุชราชฐาน หมู่ 3 วันที่ 20 กันยายน (ทั้งกลางวัน กลางคืน) ของทุกปี

สถานที่ท่องเที่ยว

·         ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่
·         พระเจดีย์ อุโบสถวัดอัษฎางคนิมิตร
·         หาดถ้ำพัง หรือ อ่าวอัษฎางค์
·         แหลมจักรพงษ์
·         ช่องอิศริยาภรณ์ (เขาขาด) และหาดหินกลม
·         พลับพลาที่ประทับชมวิวของรัชการที่ 5 (เขาขาด)
·         แหลมมหาวชิราวุธ (แหลมสลิด)
·         วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร
·         รอยพระพุทธบาทจำลอง
·         เก๋งจีน
·         ถ้ำจักรพงษ์และพระเหลือง
·         วัดถ้ำยายปริก
·         แหลมงู
·         ท่ายายทิม
·         เกาะยายท้าว
·         เกาะค้างคาว
·         เกาะขามใหญ่
·         หลักศิลาจารึก
·         พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน











«
Next
บทความใหม่กว่า
»
Previous
บทความที่เก่ากว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

Leave a Reply