อำเภอศรีราชา
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอศรีราชาตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย พื้นที่ส่วนใหญ่มีภูเขาล้อมรอบและเป็นที่ลาดเนิน ที่ว่าการอำเภอศรีราชาตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ตำบลศรีราชา ห่างจากตัวจังหวัดชลบุรี 24 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 105 กิโลเมตร พื้นที่ในการปกครองของอำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังต่อไปนี้
สภาพพื้นที่
อำเภอศรีราชามีเนื้อที่ประมาณ 643.558 ตารางกิโลเมตร (402,223.75 ไร่) พื้นที่การเกษตร 236,542.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 41.878 ของพื้นที่ทั้งหมด ระยะทางห่างจากเมืองชลบุรีโดยรถยนต์ 24 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเนินเขาเล็ก ๆ กระจายทั่วไป พื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร และอุตสาหกรรมมีที่ราบลุ่มทำนาได้บางส่วน ทิศตะวันตกติดชายฝั่งทะเล และไม่มีแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน จะมีเฉพาะทางน้ำไหลจากภูเขาลงสู่ทะเล
ประวัติ
อำเภอศรีราชาเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางละมุง ตัวเมืองบางละมุงเดิมตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุงในเขตอำเภอบางละมุงในปัจจุบัน เมื่อประมาณ 100 ปีเศษมานี้ เมืองบางละมุงได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านบางพระ แต่ยังคงใช้ชื่อเดิมว่า "เมืองบางละมุง" ในขณะที่ตั้งเมืองบางละมุงในขณะนั้น ระบบบริหารราชการแผ่นดินยังไม่มีอำเภอ ต่อมาทางราชการได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นมณฑล จึงได้ย้ายเมืองบางพระไปตั้งอยู่ที่บางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรีในปัจจุบัน และรวมเมืองพนัสนิคมเข้าด้วยกัน เรียกว่า "เมืองชลบุรี"
ส่วนเมืองบางพระนั้นได้ตั้งเป็นอำเภอ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2437 (ร.ศ. 113) เรียกว่า อำเภอบางพระ ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้กราบทูลต่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีนบุรี ขอให้ย้ายอำเภอบางพระมาตั้งที่ศรีราชา แต่ยังคงใช้ชื่ออำเภอบางพระเหมือนเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 (ร.ศ. 136) จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบางพระมาเป็น อำเภอศรีราชา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีหลวงบุรีรัตถคามบดีเป็นนายอำเภอศรีราชาคนแรก
การปกครองส่วนท้องถิ่น
· เทศบาลนครแหลมฉบัง ครอบคลุมพื้นที่ บางส่วนของหมู่ที่ 3 และ 9 ตำบลสุรศักดิ์ ตำบลทุ่งสุขลาทั้งตำบล บางส่วนของหมู่ที่ 1, 5 และ 10 ทั้งหมดของหมู่ที่ 9 ตำบลบึง บางส่วนของหมู่ที่ 11 ตำบลหนองขาม รวมไปถึงหมู่ที่ 4, 6, 7, 8 และ 9 ตำบลบางละมุงในเขตอำเภอบางละมุง
· เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-2,3 (บางส่วน), 4-8, 9 (บางส่วน) และ 10 ตำบลสุรศักดิ์ บางส่วนของตำบลบึง บางส่วนของตำบลหนองขาม บางส่วนของตำบลเขาคันทรง และบางส่วนของตำบลบ่อวิน
· องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขาม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครแหลมฉบังและเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์)
· องค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาคันทรง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์)
· องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพระ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางพระ)
· องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อวิน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์)
ประชากร
อำเภอศรีราชามีประชากรจำนวนรวมทั้งสิ้น 2 แสนคน ปัจจุบันเป็นเขตกึ่งเกษตรกรรมและกึ่งอุตสาหกรรม ซึ่งมีแนวโน้มอุตสาหกรรมจะก้าวนำการเกษตร เนื่องจากการพัฒนาตามโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก มีท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นต้น
การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมในตำบลและหมู่บ้าน มีรายละเอียด ดังนี้
4. ทางหลวงชนบทจำนวน 24 สาย สำหรับเชื่อมระหว่างตำบลและหมู่บ้าน มีสภาพเป็นถนนลูกรัง 13 สาย
5. รถไฟสายกรุงเทพฯ–สัตหีบ (พลูตาหลวง) เชื่อมต่อลงไปยังท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เป็นเส้นทางลำเลียงขนส่งสินค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานที่ท่องเที่ยว
· สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
· สวนเสือศรีราชา
· เกาะลอย
· น้ำตกชันตาเถร
· อ่างเก็บน้ำบางพระ
สถานศึกษา
โรงเรียน
วิทยาลัย
มหาวิทยาลัย
หน่วยกู้ภัย
· พุทธสมาคมพุทธมามกสว่างประทีปธรรมสถาน (กู้ภัยสว่างประทีป)
เขตรับผิดชอบ
ทิศตะวันออก ถนนสาย7 ตอน2 ขาเข้าชลบุรี กม.83 - กม.108
ทิศตะวันตก ทะเลอ่าวไทย
ทิศเหนือ ตำบลบางพระ
ทิศใต้ ตำบลบางละมุง
· พุทธสมาคมเพียวเยี้ยงไท้ (กู้ภัยเพียวเยี้ยงไท้)
เขตรับผิดชอบ
ทิศตะวันออก บ่อวิน ระยอง
ทิศตะวันตก ถนนสาย7 ตอน2 ขาเข้าพัทยา กม.83 - กม.108
ทิศเหนือ
ทิศใต้ ตำบลบางละมุง
ไม่มีความคิดเห็น: